Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

สองสามีภรรยาที่มี โรคภาวะเตี้ย หรือ คนแคระ แต่งงานกันจนมีลูกเด็กที่เกิดมาจะเป็นอย่างไร..

เรื่องราวของสองสามีภรรยาที่มี โรคภาวะเตี้ย หรือ คนแคระ แต่งงานกันจนมีลูกเด็กที่เกิดมาจะเป็นอย่างไร..

สำนักข่าวต่างประเทศได้รายงานเรื่องราวของสองสามีภรรยาที่มี โรคภาวะเตี้ย หรือ คนแคระ แต่งงานจนมีพยานรัก

🤵🙍‍♀️ที่ไม่แคร์สายตาของคนอื่น แต่งงานอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข สามีของเขาไม่สบายบ่อยๆในวัยเด็กทำให้ตัวไม่สูง ผู้คนรอบข้างและเพื่อนฝูงต่างพากันหัวเราะเย้าะ

🤵❤️🙍‍♀️จนได้มาพบกับภรรยาคนนี้ พวกเขามีประสบการณ์ที่เหมือนกันทำให้ต่างเข้าใจและเห็นใจซึ่งกันและกันมากขึ้น ทำให้พวกเขาเข้ากันได้ดี และมีความสุขในชีวิตคู่มาก

หลังแต่งงานได้ไม่นาน ภรรยาของเขาก็ตั้งครรภ์ สามีรักและทะนุถนอมเธอเป็นอย่างดี โดยไม่อยากให้เธอต้องทำงานหนัก

🤵👉🏿🍝สามีเป็นคนเข้าครัวทำกับข้าวเอง เพื่อหวังอยากจะทำอาหารกลางวันที่อดุมไปด้วยโภชนาการ เมื่อภรรยาเห็นสามีเหนื่อยจนเหงื่อท่วมตัว ก็รีบไปเอาผ้าชุปน้ำเช็ดเหงื่อให้สามี เป็นภาพที่หวานแววมาก

👉🏿ในช่วงการตั้้งครรภ์ในไตรมาสแรก สามีของเขาพาภรรยาที่รักไปตรวจร่างกายอย่างละเอียด กลัวว่าลูกเกิดมาจะมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพร่างกาย เพราะนี้คือท้องแรกของพวกเขา

🤵🙍‍♀️👉🏿👶เขากำลังจะเป็นพ่อคนแล้ว ทุกครั้งที่พวกเขาออกไปข้างนอกก็จะพบอุปสรรค์มากมาย เนื่องจากรูปร่างที่เตี้ยของพวกเขา ทำให้เดินทางไม่สะดวก แต่เขาก็ไม่สนใจสายตาของคนรอบข้างว่าจะมองเขาอย่างไร ขอเพียงทั้งสองรักกันและกันแค่นี้ก็พอแล้ว

หลังจากที่ภรรยาคลอดลูกคนแรก หมอบอกว่าฮอร์โมนเพศและฮอร์โมนอื่นๆ ของลูกไม่ได้ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการในการเจริญเติบโต ตราบใดที่พัฒนาการทางเพศของผู้ป่วยเป็นผู้ใหญ่เต็มวัย ก็สามารถตั้งครรภ์ได้ตามปกติ

แต่โรคของพ่อแม่นั้นอาจถูกถ่ายทอดสู่ทารกในครรภ์ได้ เพราะฉะนั้นแล้วพ่อและแม่ควรมีวิธีป้องกันไว้ล่วงหน้าสำหรับลูกๆในอนาคต ลูกของพวกเขาหัวกลมๆ รูปร่างอาจดูแปลกไปนิดหน่อย แต่โชคดีที่ผลตรวจลักษณะทางกายภาพของทารกนั้นปกติดี

👶ในวันแรกของการดูแลทารกน้อย พวกเขายังไม่มีประสบการณ์ จึงพยายามอ่านหนังสือสอนและแนะนำการเลี้ยงเด็กทารก เมื่อเห็นลูกสุขภาพร่างกายแข็งแรงเติบโตก็ดีใจมาก เมื่อสามีหยุดก็จะมาช่วยภรรยาดูแลลูก

ตอนนี้ลูกของเขาอายุ 1 ขวบแล้ว สองสามีภรรยาซื้อเค้กก้อนโตเพื่อฉลองวันเกิดให้ลูก 3 คนครอบครัวดูมีความสุขมาก ถึงแม้ว่าพวกเขาจะเป็นคนแคระ จะถูกผู้คนมองด้วยสายตาแปลกๆก็ตาม แต่พวกเขาก็จะคิดในแง่ดีเสมอ เพื่อให้ครอบครัวมีความสุขมากขึ้น โดยพวกเขาบอกว่า "เราเลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกที่จะเป็นได้"

👩‍👩‍👦ไม่มีใครรู้จักตัวเราดีเท่ากับตัวเราเอง ไม่ว่าชีวิตของเราจะต้องเผชิญกับปัญหามากมาย เชื่อเถอะว่ามันสามารถผ่านไปได้ อยู่ที่ตัวเราเองว่าพร้อมจะเดินฝ่าฟันอุปสรรคในครั้งนี้หรือไม่? ยิ่งถ้าเราพบคนที่เข้าใจเรา เหมือนกับสองสามีภรรยาคู่นี้ที่หากันจนเจอ ความสุขคือสิ่งที่เราต้องช่วยกันสร้างขึ้น ถ้าตัวเราเองไม่สร้างแล้วใครจะมาสร้างให้เรา!

👉สาระข้อมูลเพิ่มเติม
ภาวะเตี้ย หรือ คนแคระ (DWARFISM) ไม่ได้เกิดจากการขาดโกรทฮอร์โมนเสมอไป บางครั้งโกรทฮอร์โมน ในกระแสเลือดปกติ แต่ตัวรับสัญญาณไม่ตอบสนองต่อโกรทฮอร์โมน ซึ่งมักอาจเกิดจากการผ่าเหล่า(mutation)ของยีนของตัวรับสัญญาณ ทำให้โกรทฮอร์โมนทำงานไม่ได้ เรียกการเตี้ยแคระแบบนี้ว่า "การเตี้ยแคระแบบลาร์สัน" หรือ การไม่ตอบสนองต่อโกรทฮอร์โมน (Larson dwarfism หรือ growth hormone insensitivity)

Dwarfism สามารถเกิดได้มากกว่า 200 เงื่อนไขที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนทางการแพทย์ อาการและลักษณะของdwarfsแต่ละชนิด แตกต่างกันเป็นอย่างมาก ผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก dwarfism เรียกได้เลยว่า "จำนวนคนน้อยมาก"

👥ส่วนใหญ่สาเหตุของโรค Dwarfism เกิดจากโรค Achondroplasia กระดูกเติบโตอย่างผิดปกติ ซึ่งเป็นถึง70%ของ ผู้ป่วยโรค Dwarfism

👉🏿แต่ในกรณีของโรค Achondroplasia จะมีรูปร่างที่ไม่สมสัดส่วน ช่วงแขนหรือขาจะดูสั้นๆเล็กๆ เมื่อเทียบกับลำตัว (บริเวณท้อง) โดยมีหัวขนาดใหญ่กว่าปกติและใบหน้าที่มีลักษณะพิเศษ หากร่างกายเกิดความไม่สมส่วน มักจะเกิดจากหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งยีนที่ควบคุมลักษณะหรือความผิดปกติในการพัฒนากระดูกอ่อน การที่ร่างการมนุษย์เกิดการผิดปกติอย่างมาก

👉🏿มักจะมีสาเหตุเกี่ยวกับ ฮอร์โมน เช่น การเจริญเติบโตฮอร์โมนบกพร่องซึ่งรู้จักกันในชื่อของ "Pituitary Dwarfism" ซึ่งการเติบโตที่ผิดปกตินี้เกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของ Growth Hormone จากแหล่งที่ผลิตฮอร์โมนชนิดนี้ คือ ต่อม พิธูอิตารี่ ส่วนหน้า หรือเรียกอีกอย่างว่า "ต่อมใต้สมองส่วนหน้า"

👉🏿👥ในสังคมของเรามีกลุ่มคนพิเศษเหล่านี้อยู่มากมาย พวกเขาถูกสังคมองด้วยสายตาแปลกๆ ทำให้เขาเหล่านั้นรู้สึกมีปมด้อย

ค้นหาบล็อกนี้

รายการบล็อกของฉัน